พระราชสิทธิโกศล             ความคิดที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตสุรินทร์ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ โดย พระราชสิทธิโกศล เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และ พระศรีธีรพงศ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายจัดการศึกษา (ปัจจุบันคือ พระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ) มีแนว คิดที่จะ ขยายการ ศึกษาของคณะสงฆ์ จังหวัดสุรินทร์ให้ครบวงจรขึ้น ทั้งนี้ได้รับความเห็นชอบ และความสนับ สนุนจาก นายเสนอ มูลศาสตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัด สุรินทร์

            พระราชสิทธิโกศล จึงมีหนังสือนิมนต์เจ้าคณะพระสังฆาธิการ ของจังหวัดสุรินทร์ มาร่วมประชุมปรึกษา หารือ ที่ อุโบสถ วัดกลาง สุรินทร์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการ ขอจัด ตั้งวิทยาเขต สุรินทร์ขึ้น ในปี พุทธศักราช ๒๕๓๐ แต่ทางคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ไม่อาจจะดำเนินการ ได้ทันที เพราะมีความไม่ พร้อม บางประการ

พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ป.ธ.๙)            ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ พร้อมทั้งข้าราชการ คณาจารย์พ่อค้า และประชาชนส่วนหนึ่ง ได้ พร้อม ใจกัน ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง ที่ศาลาบำเพ็ญกุศล วัดกลางสุรินทร์โดยมี พระราชสิทธิโกศล เป็นประ ธานฝ่ายสงฆ์ และ นายเถกิง เจริญศรี ผู้ว่าราชการ จังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ที่ประชุมได้ยืน ยันในมติเดิม ที่คณะ สงฆ์มีมติเห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการขออนุญาต จัดตั้งวิทยาเขตสุรินทร์ขึ้น โดยใช้อาคาร สถานที่ของ วัดศาลาลอย อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็น สำนัก งาน และอาคารเรียนชั่วคราว ที่ประ ชุมมอบ หมาย ให้ พระศรีธีรพงศ์ รองเจ้าคณะ จังหวัดสุรินทร ์ฝ่ายจัดการศึกษา เป็นผู้ แทน คณะสงฆ์ จังหวัด สุรินทร์ ดำเนินการขออนุมัติจัดตั้ง วิทยาเขตสุรินทร์ต่อ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ

อาคารเรียนวัดศาลาลอย             สภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๓๑ เมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๑ ที่ประชุมมีมติเป็นเอก ฉันท์ ให้จัดตั้งวิทยาเขตสุรินทร์ขึ้น โดยมีชื่อเต็มว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูประถัมภ์ วิทยาเขตสุรินทร์" ให้เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์
            ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ รัฐสภา ได้ตรา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ วิทยาเขตสุรินทร์จึงมีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์"


            ๑. เพื่อกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้คณะสงฆ์ และประชาชน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง
            ๒. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ ความสามารถในพระไตรปิฎกและวิชาการชั้นสูง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
            ๓. เพื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านศาสนา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถนำไปใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
            ๔. เพื่อให้บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนา แก่คณะสงฆ์และประชาชนทั่วไป
            ๕. เพื่อนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
            ๖. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นที่ยอมรับอันจะเอื้อต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม
            ๘. เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกที่จะศึกษาในระดับสูงของคณะสงฆ์และประชาชนทั่วไป

(ในช่วง ๑๒ ปีที่ผ่านมา)อาคารเรียน
            พ.ศ. ๒๕๓๑ ก่อตั้งวิทยาเขตสุรินทร์ เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์ วิชาเอกสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์
            พ.ศ. ๒๕๓๔ เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ วิชาเอกสังคมศึกษา และการบริหารการศึกษา
            พ.ศ. ๒๕๔๒ เปิดสอนวิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษ ในคณะครุศาสตร์
            พ.ศ. ๒๕๔๓ เปิดสอนวิชาเอกพระพุทธศาสนา ในคณะพุทธศาสตร์
            พ.ศ. ๒๕๔๓ เปิดขยายห้องเรียนไปที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเปิดสอนวิชาเอกพระพุทธศาสนา
            พ.ศ. ๒๕๔๓ เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูในคณะครุศาสตร์ (เรียนได้ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์)


ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
             ๑. ด้านการผลิตบัณฑิต
            มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดเป็นเป้าหมายชัดเจน ที่จะพัฒนาคุณลักษณะ บัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้
                  ๑.๑ มีปฎิปทาน่าเลื่อมใส
                  ๑.๒ ใฝ่รู้ ใฝ่คิด ใฝ่สร้างสรรค์
                  ๑.๓ เป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ
                  ๑.๔ มีความสามารถในการแก้ปัญหา
                  ๑.๕ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
                  ๑.๖ มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
                  ๑.๗ มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม
                  ๑.๘ มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
                  ๑.๙ รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม

            เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะดังกล่าว มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการผลิตบัณฑิต คือระบบคัดเลือกผู้เข้า ศึกษา การพัฒนาหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากร การบริหารการจัดการ อาคารสถานที่ กิจกรรมนิสิต สิ่งแวดล้อม และบรรยายกาศทางวิชาการ
             ๒. ด้านการวิจัย
            ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัย จำเป็นต้อง พัฒนา ด้านการวิจัยพื้นฐาน เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการการเรียนการสอน เน้นพัฒนาองค์ความ รู้ใน พระไตรปิฎก และความเข้าใจปัญหา ทางพระพุทธศาสนา โดยวิธีสหวิทยาการ และนำผลงานการวิจัย มาประ ยุกต์ ใช้เป็นข้อมูลร่วมสมัยทางพระพุทธศาสนา เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยจัดลำดับ ความ สำคัญของการแก้ปัญหาด้านศีลธรรม จริยธรรม และสถาบันศาสนา ตลอดถึง การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ
             ๓. ด้านบริหารวิชาการแก่สังคม
            มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มุ่งให้การบริการวิชาการแก่สังคม ด้วยการเผยแผ่ความรู้ ทางพระ พุทธศาสนา พัฒนาจิตใจของประชาชน พัฒนาชุมชนตามหลัก พระพุทธศาสนา และส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์ เพื่อให้การบริการแก่สังคมบรรลุผล จึงให้ความสำคัญกับกระบวน การจัดการเรียนการสอน ให้สัมพันธ์กัน กับ การบริการวิชาการ แก่สังคมร่วมมือกับคณะสงฆ์และหน่วยงานภายนอก เพื่อให้การบริการวิชาการ รวมทั้งเป็น ศูนย์กลางในการผลิตสื่อการเผยแผ่ นิสิตนักศึกษา ป.วค.
             ๔. ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนาทะนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
            มหาวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม อัน เป็นพื้นฐานมาจาก หลักธรรม ทาง พระ พุทธศาสนา จึงต้องปรับปรุงหลักสูตรระยะสั้น ให้สนองต่อ การส่งเสริม พระพุทธศาสนา การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ ์สิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมที่ปลูกฝังจิตสำ นึกในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เสริมสร้างความซาบซึ้งและ เห็นคุณค่า ของพุทธศิลป์ศิลปวัฒนธรรม